บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 5/02/58
เรียนครั้งที่ 4 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
(ความรู้ที่ได้รับ)
ในวันนี้เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ซึ่งก่อนการเรียนการสอนอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำคือ
ในวันนี้เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ซึ่งก่อนการเรียนการสอนอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำคือ
1. กิจกรรมวาดรูประบายสี อาจารย์จะมีรูปให้ดูและให้เราพยายามวาดให้เหมือน พร้อมเขียนว่าเรามองเห็นอะไรในภาพ
2. เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
2. เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ - จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ - การบันทึกต่อเนื่อง - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
- นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม - กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
- ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
- ให้รายละเอียดได้มาก - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่ง
- โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
- บันทึกลงบัตรเล็กๆ
- เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
3. ต่อจากกิจกรรมวาดภาพระบายสีดอกไม้ คือมาพูดคุยกันว่าของใครวาดเหมือนที่สุด และการสังเกตแบบไหนถึงจะถูกต้อง
4. กิจกรรมการร้องเพลง คือการร้องเพลงที่อาจารย์แจกให้ เพื่อการฝึกร้องเพลง ในวันนี้อาจารย์สอนให้ร้องเพลง เพลงฝึกกายบริหาร มีเนื้อหาดังนี้
- ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกสยแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกสยแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปภาประกอบการเรียนการสอน
ภาพตัวอย่าง
ภาพที่วาด
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย
ขอบคุณค่ะ
ภูริศา เข้าเมือง
ภูริศา เข้าเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น