วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันจันทร์ ที่ 27 เมษายน 2558

เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20
 
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
 
 
 ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของการเรียนชดเชยของวันสงกรานต์ที่หยุดไปค่ะเป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายที่จะได้เรียนกับอาจารย์ 
 
วันนี้สอบร้องเพลง ของ อาจารย์ ศรีนวล ซึ่งทุกเพลงที่ใช้สอบนั้นอาจารย์จะสอนร้องในแต่ละสัปดาห์และให้เราไปฝึกร้องเพื่อมาสอบกันในสัปดาห์สุดท้ายค่ะ
หลังจากสอบร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็มอบรางวัลให้เพื่อนที่ได้ดาวเด็กดีเยอะที่สุด3คนค่ะ
 
 
***ภาพแห่งความทรงจำ***










ประเมินผล


เพื่อน  วันนี้เพื่อนๆตั้งใจร้องเพลงกันดีมากๆเลยถึงแม้บางคนจะร้องเพี้ยนแต่ก็ถือว่ามีวามพยายามมากค่ะ


ตนเอง   วันนี้ตื่นเต้นมากในการสอบร้องเพลง แต่ก็ตั้งใจร้อง จำเนื้อได้แม่นโดยที่ไม่ต้องดู


อาจารย์  วันนี้อาจารย์น่ารักมากๆค่ะ ให้ข้อคิดอะไรหลายๆอย่างอาจารย์เข้าใจนักศึกษาทุกเรื่อง หนูขอให้อาจารย์รักษาความน่ารักแบบนี้ตลอดไปนะคะ
 
ขอบคุณค่ะ
                                                    นางสาวภูริศา เข้าเมือง



วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

 
บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 23  เมษายน 2558

เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20
 
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
 


วันนี้เรียนอาจารย์ลงลึกในเรื่องของโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)ซึ่งในเนื้อหาจะประกอบไปด้วย ดังนี้
แผน IEP
•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ •ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
•เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
•วิธีการประเมินผล


ประโยชน์ต่อเด็ก


•ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
•ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
•ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
•ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ


ประโยชน์ต่อครู


•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ


ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง


•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน


ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล


1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
•ระยะยาว (กำหนดโดยกว้างๆ)
•ระยะสั้น (กำหนดให้อยู่ในจุกหมายหลัก) สอนใคร สอนอะไร สอนเมื่อไหร่ ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


เมื่อเรียนเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เเขียนแผน IEP เป็นงานกลุ่มค่ะ ซึ่งให้เขียนแผน IEP เป็นงานเดี่ยวด้วยอีก1ชุด






ประเมินผล

เพื่อน

วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยบ้างแต่ก็ตั้งใจเวลาทำงาน มีเพื่อนๆบางคนเข้าเรียนช้าบ้างแต่โดยภาพรวมก็โอเคค่ะ

ตนเอง

วันนี้พยายามตั้งใจที่จะไม่คุยกับเพื่อน หรือถ้าคุยก็คุยให้น้อยที่สุด แต่ครูก็ยังมองว่าหนูคุยเก่ง 5555555
วันนี้ได้ช่วยเพื่อนๆทำงานกลุ่มโดยออกความคิดเห็นค่ะ

อาจารย์

มีกิจกรรมสนุกๆมาใก้นักศึกษาทำ ก่อนทีจะเข้าสู่บทเรียนทำให้นักศึกษามีสมาธิและมีความพร้อมมากขึ้นค่ะ ครูเตรียมการสอนมาดี เป็นระบบ ทำให้เวลาสอนนักศึกษาเข้าใจได้ง่าย

ขอบคุณค่ะ 
นางสาวภูริศา  เข้าเมือง


วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 9  เมษายน 2558

เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี



ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบของอาทิตย์ที่ผ่านมาที่ละข้อมีการแลกเปลี่ยนข้อมมูลคำตอบของเพื่อนๆว่ามีใครตอบแบบไหนบ้างและอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับการย่อยงานของเด็กพิเศษอย่างละเอียดในข้อสอบที่ได้ทำไปทำให้ทราบว่าเราพลาดไปหลายจุดเนื่องจากจุดที่พลาดนั้นเป็นจุดเล็กๆสำหรับเราเราจึงมองข้าม แต่สำหรับเด็กพิเศษนั้นในทุกๆเรื่องสำคัญกับตัวเด็กมากคนเป็นครูจึงต้องดูแลเอาใจใส่เด็กในทุกๆอิริยาบท เรื่องไหนที่ต้องทำการแก้ไขเป็นการเร่งด่วนครูก็ตวรจะคิดไตร่ตรองให้ดี
นอกจากนี้อาจารย์ยังได้สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้ไปฝึกร้องเพลงมา เพื่อสอบเก็บคะแนนในสับดาห์ถัดไปค่ะ


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย

•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้

•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
•ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
•จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ

*การทำตามแบบอย่างจากสิ่งที่เห็น
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
•เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
•เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
•คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
•ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
•ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
•การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
•ต่อบล็อก
•ศิลปะ
•มุมบ้าน
•ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
•ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
•รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
•จากการสนทนา
•เมื่อเช้าหนูทานอะไร
•แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
•จำตัวละครในนิทาน
•จำชื่อครู เพื่อน
•เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

•การเปรียบเทียบ •การจำแนก
•การสังเกต
•การวิเคราะห์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

•จัดกลุ่มเด็ก


•เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ

•ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

•ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง


*พูดในทางที่ดี
*จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
*ทำบทเรียนให้สนุก

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน










ประเมินผล


เพื่อน   


วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องมีคุยบ้างนิดหน่อยค่ะแต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการเรียนค่ะ

ตนเอง

วันนี้เข้าเรียนก่อนเวลาแต่งกายเรียบร้อยแต่วันนี้เหมือนจะโดนดุเพราะคุยเยอะแต่ก็ได้ยินทุกคำพูดที่อาจารย์สอนค่ะในครั้งต่อไปหนูสัญญาว่าจะพยายามคุยให้น้อยลง

อาจารย์

วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ครบถ้วน คอยตักเตือนเด็กๆเวลาคุยกันเสียงดัง อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสค่ะ




ภูริศา  เข้าเมือง
ขอบคุณค่ะ









วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  9

บันทึกอนุทินครั้งที่  9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 26 มีนาคม 2558

เรียนครั้งที่ 9 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี




ในสัปดาห์นี้เป็นการสอบเก็บคะแนนค่ะ คะแนนที่อาจารย์เก็บคือ 10 คะแนน
ซึ่่งในการสอบครั้งนี้หนูได้ตั้งใจทำมันเต็มที่ค่ะนำความรู้ที่เรียนมาตอบมีการเตรียมตัวมาดีพอสมควรค่ะ


การประเมินผล

 ตนเอง

เข้าสอบตรงเวลาลาค่ะแต่งกายเรียบร้อยตั้งใจทำข้อสอบ

เพื่อน

เพื่อนๆก็ตั้งใจทำข้อสอบกันดีมากๆค่ะ

อาจารย์

ให้คำปรึกษาและอธิบายข้อสอบให้ฟังอย่างชัดเจนและเข้าใจค่ะ




ขอบคุณค่ะ
นางสาวภูริศา  เข้าเมือง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่  8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 19 มีนาคม 2558

เรียนครั้งที่ 8 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี





ความรู้ที่ได้รับ


ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  ก่อนที่จเข้าสู่บทเรียนอาจารย์มีคำถามที่บอกถึงลักษณะนิสัย

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง


เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด

การกินอยู่

การเข้าห้องน้ำ

การแต่งตัว

กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

•เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง

•อยากทำงานตามความสามารถ

•เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

•การได้ทำด้วยตนเอง

•เชื่อมั่นในตนเอง

•เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

•ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)

•ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป

•ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ

•“ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”

จะช่วยเมื่อไหร่

•เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย

•หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

•เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ

•มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

•แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ

•เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม

•เข้าไปในห้องส้วม

•ดึงกางเกงลงมา

•ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม

•ปัสสาวะหรืออุจจาระ

•ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น

•ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า

•กดชักโครกหรือตักน้ำราด

•ดึงกางเกงขึ้น

•ล้างมือ

•เช็ดมือ

•เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น

•แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป

•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง

•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ

•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล

•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง

•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ




*ภาพกิจกรรมระบายสีวงกลม*

ซึ่งวงกลมนี้สามารถบ่งบอกถึงนิสัยจิตใจของตัวเราได้ซึ่งจุดที่อยู่ในสุดสามารถบ่งบอกได้เราจิตใจข้างในเราเป็นอย่างไรวงกลมวงนอกสุดคือสิ่งที่เราแสดงออกมา









การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เมื่อเราพบเจอเหตูการณ์ต่างๆ เช่นในห้องเรียนรวมที่มีเด็กพิเศษเราจะใช้วิธีการใดในการปรับพฤติกรรมเด็ก ทั้งทาง  ร่างกาย  อารมณ์  สังคมอารมณ์  และสติปัญญา   ให้เด็กพิเศษสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เตียงเด็กปกติมาที่สุด จะจัดกิจกรรมแบบไหน  และกิจกรรมที่จัดเหมาะสมหรือไม่

การประเมินผล

ตนเอง  

วันนี้เข้าเรียนเช้ามีการเตรียมตัวมาค่อนข้างดีเตรียมเอกสารมาใช้ประกอบการเรียนการสอนอาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างแต่ก็ตั้งใจเรียนค่ะ

เพื่อน 

เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันดีให้ความร่วมมือในกิจกรรมมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในการทำกิจกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเราจะได้มีความรู้หลายๆอย่างจากมุมมองแต่ละคนค่ะ
อาจารย์ 

อาจารย์เตรียมการสอนมาดีค่ะ มีกิจกรรมมาให้ทำซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และมีการนำประสบการณ์มาเล่าให้ฟังทำให้นักศึกษาเข้าใจและยังได้รู้วิธีการสอนเด็กพิเศษวิธีการช่วยเหลือซึงในตรงนี้เป็นสิ่งที่ดีมากๆค่ะที่อาจารย์นำมาสอน



                                                                                               ขอบคุณค่ะ

                                                                                               นางสาวภูริศา  เข้าเมือง


วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่  7

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 12 มีนาคม 2558

เรียนครั้งที่ 7 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ  

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ จากนั้นได้ให้ร้องเพลงที่สอนไปเมื่อสัปดาห์ก่อนโดยเป็นการทบทวนว่าร้องกันได้หรือไม่จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมบำบัดโดยใช้เสียงเพลงและศิลปะเป็นตัวช่วยในการบำบัดทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
•เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
•ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม 
•ถามหาสิ่งต่างๆไหม 
•บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม 
•ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
•การพูดตกหล่น 
•การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง 
•ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

•ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
•ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด” 
•อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด 
•อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก 
•ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
•ทักษะการรับรู้ภาษา 
•การแสดงออกทางภาษา 
•การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
•การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา 
•ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด 
•ให้เวลาเด็กได้พูด 
•คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) 
•เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป) 
•เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
•ใช้คำถามปลายเปิด 
•เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
•ร่วมกิจกรรมกับเด็ก


ภาพในการทำกิจกรรม

ศิลปะบำบัด








การนำไปใช้

นำกิจกรรมในวันนี้ คือ กิจกรรมบำบัดโดยใช้กิจกรรมศิลปะและดนตรี
มาเป็นสื่อประกอบเป็นกิจกรรมที่ดีมากซึ่งจะทำให้เด็กผ่อนคลาย
และเกิดจินตนาการในการวาดลายเส้น กิจกรรมนี้จะช่วยฝึกสมาธิ  
ประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา ทำให้เด็กมีจิตใจที่แน่วแน่ ผ่อนคลาย


ประเมินผล

ตนเอง

วันนี้ตั้งใจเรียนสนใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนอาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างแต่ก็ตั้งใจเรียน
ตั้งใจทำกิจกรรมการระบายสี มีส่วนร่วมในการเรียน คือตอบคำถามอาจารย์ 
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีค่ะ

เพื่อน

วันนี้มีเพื่อนๆส่วนหนึ่งที่เข้าเรียนสาย แต่โดยรวมเพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์มีคุยกันบ้างนิดหน่อยค่ะ

อาจารย์

อาจารย์น่ารัก  หากิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาทำ โดยที่ไม่น่าเบื่อ
 อาจารย์เข้าใจนักศึกษาทุกคนมีการเตรียมการสอนที่ดี สอนเข้าใจง่าย  
สนุกสนานไม่เครียด มีการนำประสบการณ์มาถ่ายทอดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆค่ะ


ขอบคุณค่ะ
ภูริศา   เข้าเมือง




วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 19/02/58

เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 8:30-12:20

กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี






ความรู้ที่ได้รับ

 ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วและยังมี กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อได้ผ่อนคลายก่อนการเรียนเนื้อหาที่อ.ได้เตรียมมาและต่อ ด้วยกิจกรรมฝึกร้องเพลงที่อ.แจกให้นักศึกษาร้องเพลงไปพร้อมๆกัน และสุดท้ายได้เข้าสู่เนื้อหาของวันนี้ คือ เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีเนื้อหาสาระ 

ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข


กิจกรรมการเล่น


- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก   - ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง   
คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน     
 - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ  
ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป    
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม


การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน   
ทำโดย “การพูดนำของครู”


ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ    - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
5.กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็ก- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- คุยกันว่าใครเป็นเด็กพิเศษใครเป็นเด็กปกติ 
- ตกลงกันว่าใครเป็นคนวาดเส้น ใครเป็นคนวาดจุด
- เมื่ออ.เปิดเพลง คนที่ลากเส้นก็ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- คนที่วาดจุด ก็ให้ไปวาดจุดตรงที่เป็นส่วนของวงกลม จากคนที่วาดเส้นได้วาดเอาไว้
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ แล้วช่วยกันมองว่าเห็นเป็นรูปอะไร หลังจากนั้นก็วาดรูประบายสีตามที่เห็น


ภาพประกอบการเีรียนการสอน












การนำไปประยุกต์ใช้


สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน ต่างๆที่เราอาจจะเจอในอนาคตได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันจะมีวิธีการอย่างไรใน การสอนเด็กเหล่านั้น นอกจากนี้มีเพลงที่สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้ใน เรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของเพลงนั้น และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมบำบัดคือใช้ดนตรีในการบำบัดซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงซึ่งเด็กน่าจะมีความสุขเพราะขนาดเราทำเองเรา ยังรู้สึกสนุกและมีความสุขเพราะได้คิดอย่างอิสระเสรีไม่เครียด

การประเมินผล

ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ

อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบ เจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม  อาจารย์มีกิจกรมมเล็กๆน้อยๆมาเสริมทำให้เกิดความสนุกสนานมากค่ะ

                                                              ขอบคุณค่ะ
                                                     นางสาวภูริศา  เข้าเมือง



























วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินตรั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 12/02/58

เรียนครั้งที่ 5 เวลาเรียน 8:30-12:20

กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี







ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ใส่ถุงมือไว้ข้างที่เราไม่ได้เขียนดินสอแล้วให้วาดรูปมือข้างนั้นโดยให้วาดรายละเอียดให้ได้เยอะที่สุดพอวาดออกมาแล้วบางคนก็จำรายละเววอียดได้ไม่ครบบางคน ก็จำตำแหน่งรอยแผลเป็นตำแหน่งขี้แมลงวันผิดตำแหน่งอาจารย์เลยสอนว่ามือเป็น สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามองเห็นทุกวันแต่เราไม่เคยใส่ใจมองแค่ผ่านตาเฉยๆ
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ การบันทึกพฤติกรรมเด็กสำคัญมากในการสอนแบบเรียนรวม(เห็นแล้วบันทึกเลย)
ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
-เด็กพิเศษชอบมาก
-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
ตารางประจำวัน
-กิจกรรมเคลื่อนไหว
-มุมเสรี
-เสริมประสบการณ์
-ศิลปะ
-ดนตรี(แทรกเข้ามา)
-กลางแจ้ง
ทัศนคติของครู
*ความยืดหยุ่น
-แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-ยอมรับความสามารถของเด็ก
-ตอบสนองความต้องการของเด็กแต่ละคน







การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มี การสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟัง เพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้นและยิ่งไปกว่านั้น ยังได้ฝึกการวาดรูปซึ่งการวาดรูปเราจำเป็นต้องไปใช้วาดรูปในการสอนเด็กเพราะ เด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกภาพจะเป็นสื่อที่แสดงที่ความหมายของคำที่เราเขียน ลงไปเพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ

อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

                                                                                                      ขอบคุณค่ะ
         ภูริศา  เข้าเมือง



วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 5/02/58

เรียนครั้งที่ 4 เวลาเรียน 8:30-12:20

กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี 




(ความรู้ที่ได้รับ)

ในวันนี้เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ซึ่งก่อนการเรียนการสอนอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำคือ
1. กิจกรรมวาดรูประบายสี  อาจารย์จะมีรูปให้ดูและให้เราพยายามวาดให้เหมือน พร้อมเขียนว่าเรามองเห็นอะไรในภาพ

2. เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย

- การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง

- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ - จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ

- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต

- การนับอย่างง่ายๆ - การบันทึกต่อเนื่อง - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
- นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม - กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
- ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
- ให้รายละเอียดได้มาก - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่ง
- โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

- บันทึกลงบัตรเล็กๆ
- เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ

- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


3. ต่อจากกิจกรรมวาดภาพระบายสีดอกไม้ คือมาพูดคุยกันว่าของใครวาดเหมือนที่สุด และการสังเกตแบบไหนถึงจะถูกต้อง


4. กิจกรรมการร้องเพลง คือการร้องเพลงที่อาจารย์แจกให้ เพื่อการฝึกร้องเพลง ในวันนี้อาจารย์สอนให้ร้องเพลง เพลงฝึกกายบริหาร มีเนื้อหาดังนี้

- ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกสยแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกสยแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปภาประกอบการเรียนการสอน



ภาพตัวอย่าง






ภาพที่วาด









การประเมินผล

ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ

อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย


ขอบคุณค่ะ
ภูริศา  เข้าเมือง