บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19/02/58
เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วและยังมี กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อได้ผ่อนคลายก่อนการเรียนเนื้อหาที่อ.ได้เตรียมมาและต่อ ด้วยกิจกรรมฝึกร้องเพลงที่อ.แจกให้นักศึกษาร้องเพลงไปพร้อมๆกัน และสุดท้ายได้เข้าสู่เนื้อหาของวันนี้ คือ เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีเนื้อหาสาระ
ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก - ทำแผน IEP
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก - ทำแผน IEP
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย “การพูดนำของครู”
- ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
5.กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็ก- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- คุยกันว่าใครเป็นเด็กพิเศษใครเป็นเด็กปกติ
- ตกลงกันว่าใครเป็นคนวาดเส้น ใครเป็นคนวาดจุด
- เมื่ออ.เปิดเพลง คนที่ลากเส้นก็ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- คนที่วาดจุด ก็ให้ไปวาดจุดตรงที่เป็นส่วนของวงกลม จากคนที่วาดเส้นได้วาดเอาไว้
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ แล้วช่วยกันมองว่าเห็นเป็นรูปอะไร หลังจากนั้นก็วาดรูประบายสีตามที่เห็น
- คุยกันว่าใครเป็นเด็กพิเศษใครเป็นเด็กปกติ
- ตกลงกันว่าใครเป็นคนวาดเส้น ใครเป็นคนวาดจุด
- เมื่ออ.เปิดเพลง คนที่ลากเส้นก็ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- คนที่วาดจุด ก็ให้ไปวาดจุดตรงที่เป็นส่วนของวงกลม จากคนที่วาดเส้นได้วาดเอาไว้
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ แล้วช่วยกันมองว่าเห็นเป็นรูปอะไร หลังจากนั้นก็วาดรูประบายสีตามที่เห็น
ภาพประกอบการเีรียนการสอน
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน ต่างๆที่เราอาจจะเจอในอนาคตได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันจะมีวิธีการอย่างไรใน การสอนเด็กเหล่านั้น นอกจากนี้มีเพลงที่สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้ใน เรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของเพลงนั้น และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมบำบัดคือใช้ดนตรีในการบำบัดซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงซึ่งเด็กน่าจะมีความสุขเพราะขนาดเราทำเองเรา ยังรู้สึกสนุกและมีความสุขเพราะได้คิดอย่างอิสระเสรีไม่เครียด
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบ เจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม อาจารย์มีกิจกรมมเล็กๆน้อยๆมาเสริมทำให้เกิดความสนุกสนานมากค่ะ
ขอบคุณค่ะ
นางสาวภูริศา เข้าเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น