วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันจันทร์ ที่ 27 เมษายน 2558

เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20
 
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
 
 
 ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของการเรียนชดเชยของวันสงกรานต์ที่หยุดไปค่ะเป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายที่จะได้เรียนกับอาจารย์ 
 
วันนี้สอบร้องเพลง ของ อาจารย์ ศรีนวล ซึ่งทุกเพลงที่ใช้สอบนั้นอาจารย์จะสอนร้องในแต่ละสัปดาห์และให้เราไปฝึกร้องเพื่อมาสอบกันในสัปดาห์สุดท้ายค่ะ
หลังจากสอบร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็มอบรางวัลให้เพื่อนที่ได้ดาวเด็กดีเยอะที่สุด3คนค่ะ
 
 
***ภาพแห่งความทรงจำ***










ประเมินผล


เพื่อน  วันนี้เพื่อนๆตั้งใจร้องเพลงกันดีมากๆเลยถึงแม้บางคนจะร้องเพี้ยนแต่ก็ถือว่ามีวามพยายามมากค่ะ


ตนเอง   วันนี้ตื่นเต้นมากในการสอบร้องเพลง แต่ก็ตั้งใจร้อง จำเนื้อได้แม่นโดยที่ไม่ต้องดู


อาจารย์  วันนี้อาจารย์น่ารักมากๆค่ะ ให้ข้อคิดอะไรหลายๆอย่างอาจารย์เข้าใจนักศึกษาทุกเรื่อง หนูขอให้อาจารย์รักษาความน่ารักแบบนี้ตลอดไปนะคะ
 
ขอบคุณค่ะ
                                                    นางสาวภูริศา เข้าเมือง



วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

 
บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 23  เมษายน 2558

เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20
 
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี
 


วันนี้เรียนอาจารย์ลงลึกในเรื่องของโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)ซึ่งในเนื้อหาจะประกอบไปด้วย ดังนี้
แผน IEP
•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ •ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
•เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
•วิธีการประเมินผล


ประโยชน์ต่อเด็ก


•ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
•ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
•ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
•ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ


ประโยชน์ต่อครู


•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ


ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง


•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน


ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล


1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
•ระยะยาว (กำหนดโดยกว้างๆ)
•ระยะสั้น (กำหนดให้อยู่ในจุกหมายหลัก) สอนใคร สอนอะไร สอนเมื่อไหร่ ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


เมื่อเรียนเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เเขียนแผน IEP เป็นงานกลุ่มค่ะ ซึ่งให้เขียนแผน IEP เป็นงานเดี่ยวด้วยอีก1ชุด






ประเมินผล

เพื่อน

วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยบ้างแต่ก็ตั้งใจเวลาทำงาน มีเพื่อนๆบางคนเข้าเรียนช้าบ้างแต่โดยภาพรวมก็โอเคค่ะ

ตนเอง

วันนี้พยายามตั้งใจที่จะไม่คุยกับเพื่อน หรือถ้าคุยก็คุยให้น้อยที่สุด แต่ครูก็ยังมองว่าหนูคุยเก่ง 5555555
วันนี้ได้ช่วยเพื่อนๆทำงานกลุ่มโดยออกความคิดเห็นค่ะ

อาจารย์

มีกิจกรรมสนุกๆมาใก้นักศึกษาทำ ก่อนทีจะเข้าสู่บทเรียนทำให้นักศึกษามีสมาธิและมีความพร้อมมากขึ้นค่ะ ครูเตรียมการสอนมาดี เป็นระบบ ทำให้เวลาสอนนักศึกษาเข้าใจได้ง่าย

ขอบคุณค่ะ 
นางสาวภูริศา  เข้าเมือง


วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 9  เมษายน 2558

เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี



ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบของอาทิตย์ที่ผ่านมาที่ละข้อมีการแลกเปลี่ยนข้อมมูลคำตอบของเพื่อนๆว่ามีใครตอบแบบไหนบ้างและอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับการย่อยงานของเด็กพิเศษอย่างละเอียดในข้อสอบที่ได้ทำไปทำให้ทราบว่าเราพลาดไปหลายจุดเนื่องจากจุดที่พลาดนั้นเป็นจุดเล็กๆสำหรับเราเราจึงมองข้าม แต่สำหรับเด็กพิเศษนั้นในทุกๆเรื่องสำคัญกับตัวเด็กมากคนเป็นครูจึงต้องดูแลเอาใจใส่เด็กในทุกๆอิริยาบท เรื่องไหนที่ต้องทำการแก้ไขเป็นการเร่งด่วนครูก็ตวรจะคิดไตร่ตรองให้ดี
นอกจากนี้อาจารย์ยังได้สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้ไปฝึกร้องเพลงมา เพื่อสอบเก็บคะแนนในสับดาห์ถัดไปค่ะ


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย

•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้

•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
•ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
•จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ

*การทำตามแบบอย่างจากสิ่งที่เห็น
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
•เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
•เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
•คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
•ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
•ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
•การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
•ต่อบล็อก
•ศิลปะ
•มุมบ้าน
•ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
•ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
•รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
•จากการสนทนา
•เมื่อเช้าหนูทานอะไร
•แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
•จำตัวละครในนิทาน
•จำชื่อครู เพื่อน
•เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

•การเปรียบเทียบ •การจำแนก
•การสังเกต
•การวิเคราะห์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

•จัดกลุ่มเด็ก


•เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ

•ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

•ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง


*พูดในทางที่ดี
*จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
*ทำบทเรียนให้สนุก

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน










ประเมินผล


เพื่อน   


วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องมีคุยบ้างนิดหน่อยค่ะแต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการเรียนค่ะ

ตนเอง

วันนี้เข้าเรียนก่อนเวลาแต่งกายเรียบร้อยแต่วันนี้เหมือนจะโดนดุเพราะคุยเยอะแต่ก็ได้ยินทุกคำพูดที่อาจารย์สอนค่ะในครั้งต่อไปหนูสัญญาว่าจะพยายามคุยให้น้อยลง

อาจารย์

วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ครบถ้วน คอยตักเตือนเด็กๆเวลาคุยกันเสียงดัง อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสค่ะ




ภูริศา  เข้าเมือง
ขอบคุณค่ะ









วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  9

บันทึกอนุทินครั้งที่  9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 26 มีนาคม 2558

เรียนครั้งที่ 9 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี




ในสัปดาห์นี้เป็นการสอบเก็บคะแนนค่ะ คะแนนที่อาจารย์เก็บคือ 10 คะแนน
ซึ่่งในการสอบครั้งนี้หนูได้ตั้งใจทำมันเต็มที่ค่ะนำความรู้ที่เรียนมาตอบมีการเตรียมตัวมาดีพอสมควรค่ะ


การประเมินผล

 ตนเอง

เข้าสอบตรงเวลาลาค่ะแต่งกายเรียบร้อยตั้งใจทำข้อสอบ

เพื่อน

เพื่อนๆก็ตั้งใจทำข้อสอบกันดีมากๆค่ะ

อาจารย์

ให้คำปรึกษาและอธิบายข้อสอบให้ฟังอย่างชัดเจนและเข้าใจค่ะ




ขอบคุณค่ะ
นางสาวภูริศา  เข้าเมือง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่  8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 19 มีนาคม 2558

เรียนครั้งที่ 8 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี





ความรู้ที่ได้รับ


ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  ก่อนที่จเข้าสู่บทเรียนอาจารย์มีคำถามที่บอกถึงลักษณะนิสัย

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง


เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด

การกินอยู่

การเข้าห้องน้ำ

การแต่งตัว

กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

•เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง

•อยากทำงานตามความสามารถ

•เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

•การได้ทำด้วยตนเอง

•เชื่อมั่นในตนเอง

•เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

•ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)

•ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป

•ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ

•“ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”

จะช่วยเมื่อไหร่

•เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย

•หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

•เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ

•มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

•แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ

•เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม

•เข้าไปในห้องส้วม

•ดึงกางเกงลงมา

•ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม

•ปัสสาวะหรืออุจจาระ

•ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น

•ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า

•กดชักโครกหรือตักน้ำราด

•ดึงกางเกงขึ้น

•ล้างมือ

•เช็ดมือ

•เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น

•แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป

•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง

•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ

•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล

•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง

•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ




*ภาพกิจกรรมระบายสีวงกลม*

ซึ่งวงกลมนี้สามารถบ่งบอกถึงนิสัยจิตใจของตัวเราได้ซึ่งจุดที่อยู่ในสุดสามารถบ่งบอกได้เราจิตใจข้างในเราเป็นอย่างไรวงกลมวงนอกสุดคือสิ่งที่เราแสดงออกมา









การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เมื่อเราพบเจอเหตูการณ์ต่างๆ เช่นในห้องเรียนรวมที่มีเด็กพิเศษเราจะใช้วิธีการใดในการปรับพฤติกรรมเด็ก ทั้งทาง  ร่างกาย  อารมณ์  สังคมอารมณ์  และสติปัญญา   ให้เด็กพิเศษสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เตียงเด็กปกติมาที่สุด จะจัดกิจกรรมแบบไหน  และกิจกรรมที่จัดเหมาะสมหรือไม่

การประเมินผล

ตนเอง  

วันนี้เข้าเรียนเช้ามีการเตรียมตัวมาค่อนข้างดีเตรียมเอกสารมาใช้ประกอบการเรียนการสอนอาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างแต่ก็ตั้งใจเรียนค่ะ

เพื่อน 

เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันดีให้ความร่วมมือในกิจกรรมมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในการทำกิจกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเราจะได้มีความรู้หลายๆอย่างจากมุมมองแต่ละคนค่ะ
อาจารย์ 

อาจารย์เตรียมการสอนมาดีค่ะ มีกิจกรรมมาให้ทำซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และมีการนำประสบการณ์มาเล่าให้ฟังทำให้นักศึกษาเข้าใจและยังได้รู้วิธีการสอนเด็กพิเศษวิธีการช่วยเหลือซึงในตรงนี้เป็นสิ่งที่ดีมากๆค่ะที่อาจารย์นำมาสอน



                                                                                               ขอบคุณค่ะ

                                                                                               นางสาวภูริศา  เข้าเมือง