็้Hello

็้Hello

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่  7

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 

วันพฤหัสบดี 12 มีนาคม 2558

เรียนครั้งที่ 7 เวลาเรียน 8:30-12:20

 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ  

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ จากนั้นได้ให้ร้องเพลงที่สอนไปเมื่อสัปดาห์ก่อนโดยเป็นการทบทวนว่าร้องกันได้หรือไม่จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมบำบัดโดยใช้เสียงเพลงและศิลปะเป็นตัวช่วยในการบำบัดทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
•เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
•ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม 
•ถามหาสิ่งต่างๆไหม 
•บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม 
•ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
•การพูดตกหล่น 
•การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง 
•ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

•ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
•ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด” 
•อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด 
•อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก 
•ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
•ทักษะการรับรู้ภาษา 
•การแสดงออกทางภาษา 
•การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
•การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา 
•ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด 
•ให้เวลาเด็กได้พูด 
•คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) 
•เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป) 
•เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
•ใช้คำถามปลายเปิด 
•เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
•ร่วมกิจกรรมกับเด็ก


ภาพในการทำกิจกรรม

ศิลปะบำบัด








การนำไปใช้

นำกิจกรรมในวันนี้ คือ กิจกรรมบำบัดโดยใช้กิจกรรมศิลปะและดนตรี
มาเป็นสื่อประกอบเป็นกิจกรรมที่ดีมากซึ่งจะทำให้เด็กผ่อนคลาย
และเกิดจินตนาการในการวาดลายเส้น กิจกรรมนี้จะช่วยฝึกสมาธิ  
ประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา ทำให้เด็กมีจิตใจที่แน่วแน่ ผ่อนคลาย


ประเมินผล

ตนเอง

วันนี้ตั้งใจเรียนสนใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนอาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างแต่ก็ตั้งใจเรียน
ตั้งใจทำกิจกรรมการระบายสี มีส่วนร่วมในการเรียน คือตอบคำถามอาจารย์ 
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีค่ะ

เพื่อน

วันนี้มีเพื่อนๆส่วนหนึ่งที่เข้าเรียนสาย แต่โดยรวมเพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์มีคุยกันบ้างนิดหน่อยค่ะ

อาจารย์

อาจารย์น่ารัก  หากิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาทำ โดยที่ไม่น่าเบื่อ
 อาจารย์เข้าใจนักศึกษาทุกคนมีการเตรียมการสอนที่ดี สอนเข้าใจง่าย  
สนุกสนานไม่เครียด มีการนำประสบการณ์มาถ่ายทอดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆค่ะ


ขอบคุณค่ะ
ภูริศา   เข้าเมือง




วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 19/02/58

เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 8:30-12:20

กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี






ความรู้ที่ได้รับ

 ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วและยังมี กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อได้ผ่อนคลายก่อนการเรียนเนื้อหาที่อ.ได้เตรียมมาและต่อ ด้วยกิจกรรมฝึกร้องเพลงที่อ.แจกให้นักศึกษาร้องเพลงไปพร้อมๆกัน และสุดท้ายได้เข้าสู่เนื้อหาของวันนี้ คือ เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีเนื้อหาสาระ 

ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข


กิจกรรมการเล่น


- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก   - ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง   
คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน     
 - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ  
ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป    
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม


การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน   
ทำโดย “การพูดนำของครู”


ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ    - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
5.กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็ก- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- คุยกันว่าใครเป็นเด็กพิเศษใครเป็นเด็กปกติ 
- ตกลงกันว่าใครเป็นคนวาดเส้น ใครเป็นคนวาดจุด
- เมื่ออ.เปิดเพลง คนที่ลากเส้นก็ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- คนที่วาดจุด ก็ให้ไปวาดจุดตรงที่เป็นส่วนของวงกลม จากคนที่วาดเส้นได้วาดเอาไว้
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ แล้วช่วยกันมองว่าเห็นเป็นรูปอะไร หลังจากนั้นก็วาดรูประบายสีตามที่เห็น


ภาพประกอบการเีรียนการสอน












การนำไปประยุกต์ใช้


สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน ต่างๆที่เราอาจจะเจอในอนาคตได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันจะมีวิธีการอย่างไรใน การสอนเด็กเหล่านั้น นอกจากนี้มีเพลงที่สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้ใน เรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของเพลงนั้น และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมบำบัดคือใช้ดนตรีในการบำบัดซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงซึ่งเด็กน่าจะมีความสุขเพราะขนาดเราทำเองเรา ยังรู้สึกสนุกและมีความสุขเพราะได้คิดอย่างอิสระเสรีไม่เครียด

การประเมินผล

ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ

อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบ เจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม  อาจารย์มีกิจกรมมเล็กๆน้อยๆมาเสริมทำให้เกิดความสนุกสนานมากค่ะ

                                                              ขอบคุณค่ะ
                                                     นางสาวภูริศา  เข้าเมือง